วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

แผนที่ผ่านดาวเทียมจังหวัดเชียงใหม่


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

วิธีป้องกันตัวให้ปลอดภัยจากไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009

วิธีป้องกันตัวให้ปลอดภัยจากไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009





ติดตามข่าวการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หรือที่เดิมเรียกกันว่าไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก แล้วต้องบอกว่า อย่าตื่นตระหนก แต่ก็ไม่ควรประมาทนะครับ วันนี้มาเรียนรู้วิธีการป้องกันตัวให้ปลอดภัยจากเจ้าไวรัสวายร้ายตัวนี้ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยงครับ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ติดต่อได้เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ในคนโดยทั่วไป คือเชื้อจะอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย และแพร่ไปยังผู้อื่นโดยการไอหรือจาม การรับประทานอาหารร่วมช้อนและภาชนะ หรือติดจากการสัมผัสมือและสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ และเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูกและตา เช่น การแคะจมูก การขยี้ตา วิธีหนึ่งซึ่งจะช่วยป้องกันทั้งการแพร่เชื้อและการติดเชื้อได้ก็คือ การใช้หน้ากากอนามัย และการล้างมือบ่อยๆ

หน้ากากอนามัย
การไอ จามแต่ละครั้งจะทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายออกไปได้ไกลถึง 3 ฟุต และมีชีวิตลอยปะปนอยู่ในอากาศ ทำให้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดมีโอกาสได้รับเชื้อ จากงานวิจัยขององค์การอนามัยโลกพบว่า การใส่หน้ากากอนามัยสามารถลดการแพร่กระจายของอณูเล็กๆ ที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนได้ถึงร้อยละ 80 ควรใส่หน้ากากอนามัยเมื่อจำเป็นต้องออกไปในที่ชุมชนหรือต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นในที่สาธารณะ เช่น ห้องเรียน ห้องทำงาน ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ โรงแรม โรงพยาบาล รถโดยสาร เครื่องบิน โดยเฉพาะในห้องปรับอากาศ ฯลฯ แต่ไม่จำเป็นต้องใส่หน้ากากอนามัยเมื่ออยู่คนเดียวหน้ากากอนามัยที่เหมาะจะใช้สำหรับการป้องกันเชื้อไวรัส ได้แก่ หน้ากากอนามัยชนิด N95 ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกรองอนุภาคได้ถึง 0.3 ไมครอน หรือ surgical mask ซึ่งราคาจะถูกลงมา สามารถกรองอนุภาคได้ 5 ไมครอน ยกตัวอย่างขนาดของไวรัสโรค SARS จะเป็นอนุภาคเล็กที่มีขนาด 5 ไมครอน อย่างไรก็ตาม อาจพบปัญหาจากการใช้หน้ากากอนามัยชนิด N95 ได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด โรคปอด และทางเดินหายใจ และหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากลมหายใจจะผ่านเข้าออกได้ยากขึ้นเนื่องจากแรงต้านภายใน นอกจากนี้ หน้ากากอนามัยชนิด N ออกแบบมาสำหรับผู้ใหญ่ หากนำมาให้เด็กใช้ ต้องดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ


23 วิธีป้องกันไข้หวัดใหญ่+หวัด2009

นิตยสารรีดเดอร์ส ไดเจสท์ สรรสาระ ( Reader's Digest ) ฉบับกรกฎาคม 2552 ตีพิมพ์เรื่อง "23 วิธีห่างไกลไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่" ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

(1). ล้างมือวันละ 5 ครั้ง
ศูนย์วิจัยสุขภาพ กองทัพสหรัฐฯ ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่าง 40,000 คนพบว่า คนเหล่านี้ป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจลดลง 45% ประเด็นสำคัญ คือ ล้างมือด้วยสบู่ให้ถูกวิธี ล้างก๊อก และไม่สัมผัสลูกบิดประตูหลังล้างมือ โดยการออกแบบห้องน้ำเป็นแบบ "ซิกแซก" บังตาแทนการใช้ประตู (วิธีนี้ช่วยลดปัญหาการเสพยาเสพติดในห้องน้ำได้ด้วย)


(2). ล้างมือหลังออกจากห้องน้ำ
คนส่วนใหญ่ไม่ได้ล้างมือหลังออกจากห้องน้ำ...ห้องน้ำส่วนใหญ่ไม่มีสบู่ให้ใช้ วิธีที่ดีคือ ซื้อสบู่ก้อนเล็กแบบโรงแรม มีขายเป็นกล่องๆ ละ 100 ก้อนในห้างสรรพสินค้า พกติดตัวไปวันละ 2-3 ก้อน (ราคาก้อนละ 1-2 บาทเศษ), พกสบู่เหลวติดตัวเสมอ ควรใช้กระดาษทิชชูจับลูกบิดประตูแล้วทิ้งไปแทนการใช้มือจับ เพราะจะทำให้ได้รับเชื้อโรคใหม่ผ่านลูกบิดประตู


(3). ล้างมือ 2 รอบ
การล้างมือ 2 รอบสะอาดกว่ารอบเดียว ทว่า... อย่าลืมล้างก๊อก และปิดน้ำระหว่างการล้างมือ ซึ่งควรใช้เวลารวมประมาณเท่าเพลง "ช้างๆๆ" ของไทย


(4). ฉีดวัคซีน
กลุ่มเสี่ยงป่วยหนักเมื่อมีไข้หวัดใหญ่ระบาดได้แก่ คนในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล คนไข้โรคเรื้อรัง เช่น ถุงลมโป่งพอง หอบหืด เบาหวาน ไตวาย โรคหัวใจ คนท้อง อายุเกิน 65 ปี ฯลฯ ควรปรึกษาหมอใกล้บ้านเรื่องวัคซีน วัคซีนไข้หวัดใหญ่ทั่วไปป้องกันไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก, หวัด 2009, หรือไข้หวัดหมู (โรคเดียวกัน แต่มีหลายชื่อ) ไม่ได้, ช่วงเดือนกรกฎาคม 2552 ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาวัคซีนใหม่อยู่


(5). พกเจลแอลกอฮอล์
โรคกลุ่มนี้ติดต่อทางการไอ-จาม (ในระยะประมาณ 2+ เมตร ในที่คนแออัด อากาศระบายไม่ดี หรือห้องแอร์ทั้งห้อง) ถ้าอยู่นอกห้องแอร์จะปลอดภัยมากกว่าฝรั่งซึ่งชอบทักทายกันด้วยการกอดหรือจูบกันจะเสี่ยงติดโรคได้ง่าย ไหว้กัน-ทักทาย-ยิ้มให้กันแบบคนไทยดีแล้ว การพกเจลแอลกอฮอล์เตรียมไว้ถูมือก่อนกินอาหาร ก่อนดื่มน้ำ หลังเข้าห้องน้ำ หลังสัมผัสของที่คนใช้กันมากๆ เช่น รถประจำทาง รถไฟฟ้า รถไฟ ฯลฯ ช่วยได้มาก การศึกษาในโรงเรียนประถมฯ ที่มีการใช้เจลแอลกอฮอล์พบว่า การทำความสะอาดมือแบบนี้ลดวันลาป่วยได้เกือบ 20%


(6). ดูแลแปรงสีฟัน
อาจารย์หมอฟันแนะนำให้เปลี่ยนแปรงสีฟันเมื่อขนแปรงบานออก หรือใช้ครบ 2-3 เดือน หลังเป็นหวัด ไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่... ควรเปลี่ยนแปรงสีฟันใหม่ หรือทำความสะอาดแปรงด้วยการขัดถูด้วยฟองน้ำล้างจาน สะบัดให้แห้งหมาดๆ นำออกไปตากแดด หรือใส่ในน้ำร้อนจัด สะบัดให้แห้งหมาดๆ แล้วนำออกไปผึ่งลม ถึงไม่ป่วยอะไร... การนำแปรงสีฟันออกไปตากแดด ผึ่งลม หรือใส่ในถ้วยกาแฟ เติมน้ำ อุ่นให้ร้อนจัดในไมโครเวฟสัปดาห์ละ 1 ครั้งก็ช่วยให้แปรงสะอาดขึ้นได้มาก


(7). เตรียมกระดาษทิชชู
เตรียมกระดาษทิชชูไว้ทุกห้องทั้งที่บ้านและที่ทำงาน เพื่อให้ทุกคนใช้ปิดปากเวลาไอหรือจาม


(. ไม่ติเตียนตัวเอง
คนที่ชอบติเตียนตัวเอง ไม่ให้อภัย ไม่ยกโทษให้ตัวเองมักจะมีความเครียดสูง ภูมิต้านทานต่ำลง ติดโรคกลุ่มหวัดได้ง่ายวิธีที่ดีคือ ไม่ว่าจะเครียดอะไร... ให้วางมือซ้ายบนหน้าอก วางมือขวาบนหน้าท้อง หายใจเข้าช้าๆ-ให้ท้องป่องออกเล็กน้อย คิดในใจว่า "ขอให้เรามีความสุข", หายใจออกช้าๆ-ให้ท้องแฟบลงเล็กน้อย คิดในใจว่า "ขอให้เราพ้นทุกข์" 5-10 นาที/ครั้งบ่อยๆ อย่างน้อยวันละ 2 รอบ เวลาคิดให้ตัวเรามีสุข... ขอให้เป็นความสุขที่ได้มาโดยชอบธรรม เช่น ไม่ไปคดโกง หรือเอาเปรียบใคร ฯลฯ เวลาคิดให้ตัวเราพ้นทุกข์... ขอให้พ้นความทุกข์อะไรก็ได้ที่เรากำลังทุกข์อยู่มากที่สุด เช่น พบคนใจร้าย ฯลฯ แล้วอย่าลืมให้อภัยตัวเอง และเริ่มต้นชีวิตใหม่ทุกวัน วิธีลดความรู้สึกผิดอย่างหนึ่ง คือ ฝึกตัวให้เป็นคนกล้ากล่าวคำ "ขอโทษ" บ่อยๆ อย่างน้อยวันละครั้ง แล้วค่อยๆ เพิ่มเป็น 3 ครั้งหลังอาหาร
คนที่ขอโทษเป็นมีแนวโน้มจะเป็นคนกล้าหาญ และเคารพตัวเองมากกว่าคนที่ขอโทษไม่เป็น การฝึกขอโทษจะสร้างมิตรภาพ และลดศัตรูให้น้อยลงได้

เรื่องสำคัญคือ ขอโทษคนอื่นอย่างเดียวไม่พอ ถ้าเราติเตียนตัวเองมากๆ ก็ต้องหัดขอโทษตัวเองให้เป็น ฝึกกล่าวขอโทษตัวเองเป็นคำพูดออกมาให้ได้ และกล่าวยกโทษให้ตัวเองให้ได้เช่นกันถ้าเรารู้สึกหงุดหงิด โกรธ หรือคับแค้นใจ และคนทั้งโลกขอโทษเรา หรือให้อภัยเราไม่ได้... เรานั่นแหละจะต้องขอโทษตัวเอง และให้อภัยตัวเองให้ได้ เพื่อให้ภูมิต้านทานโรคดีขึ้นตั้งแต่วันนี้


(9). ถูใบหน้า-ตา-จมูก-ปากด้านหลังมือ
คนเราสัมผัสใบหน้า ตา จมูก และปากวันละ 20-50 ครั้ง ฝ่ามือมักจะมีเชื้อโรคมากกว่าหลังมือเสมอ เพราะฉะนั้นไม่ต้องให้หลังมือคนอื่น (สำนวนไทย = ตบหน้า) แต่มอบหลังมือให้ใบหน้าเราเบาๆ แทนฝ่ามือ (ลูบเบาๆ อย่าทำร้ายตัวเอง)


(10). ดูแลความชื้น
การอยู่ในที่อากาศแห้งมากๆ ซึ่งพบได้ในห้องแอร์ที่ปรับอุณหภูมิเย็นมากเกินไป หรือร่างกายสูญเสียความชื้นมากจากการเปิดพัดลมพุ่งใส่ผิวหนังโดยตรง ทำให้น้ำระเหยจากผิวหนังมากขึ้น อาจทำให้ทางเดินหายใจคนเราระคายเคืองได้ง่าย วิธีที่ดีคือ ไม่ปรับแอร์ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส ไม่เปิดพัดลม หรือปรับทิศทางลมแอร์ให้พุ่งกระทบตัวเราโดยตรง ถ้าจมูกแห้งหรือเป็นภูมิแพ้ เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ฯลฯ บ่อย... ควรศึกษาวิธีล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ ซึ่งทำเองได้ที่บ้านอากาศแห้งทำให้ละอองฝอยจากการไอหรือจามลอยอยู่ในอากาศได้นาน (อาจเป็นผลจากการเกิดประจุไฟฟ้าได้ง่าย) การหลีกเลี่ยงห้องแอร์ในช่วงมีโรคระบาดเป็นมาตรการที่ช่วยให้พวกเราปลอดภัยได้


(11). ซื้อเครื่องวัดความชื้น
ความชื้นในอากาศที่ต่ำกว่า 40% ทำให้ละอองฝอยจากการไอหรือจามลอยในอากาศได้นาน ตรงกันข้ามความชื้นสูงกว่า 60% จะทำให้เชื้อราเติบโตได้ง่าย การไม่ตั้งแอร์เย็นเกิน หรือใช้เครื่องปรับความชื้นอาจช่วยให้อะไรๆ ดีขึ้นได้ ถ้าใช้.. ต้องเปลี่ยนน้ำทุกๆ 2 วัน เพื่อป้องกันเชื้อโรคโตในน้ำ และอย่าลืมทำความสะอาดไส้กรองแอร์เป็นประจำด้วย (ดีที่สุด คือ ทุก 2 สัปดาห์)


(12). อบซาวน่า
การศึกษาในออสเตรเลียพบว่า การอบซาวน่าสัปดาห์ละครั้งช่วยลดติดหวัดได้ครึ่งหนึ่ง ข้อควรระวังคือ การเข้าไปในที่ที่มีคนอยู่มากๆ เพิ่มเสี่ยงติดเชื้อได้เช่นกัน


(13). กินกระเทียม
การศึกษาทำในฤดูหนาว 12 สัปดาห์พบว่า คนที่กินกระเทียมป่วยน้อยกว่า และหายเร็วกว่าด้วย


(14). ฝึกสมาธิ
ความเครียดสูงเพิ่มเสี่ยงติดโรคกลุ่มหวัด 2 เท่า... การฝึกสมาธิ มวยจีน โยคะ ไทเกก-ไทชิ รำกระบองชีวจิตอาจช่วยลดความเครียด และเพิ่มภูมิต้านทานโรคได้


(15). ออกกำลัง
การศึกษาในผู้หญิงสูงอายุพบว่า คนที่ออกแรง-ออกกำลังหนักปานกลาง 45 นาที, 5 ครั้ง/สัปดาห์, 1 ปี เป็นไข้หวัดน้อยกว่าคนไม่ออกกำลัง 3 เท่า


(16). กินโยเกิร์ต
โยเกิร์ตชนิดไขมันต่ำ-น้ำตาลต่ำช่วยเสริมภูมิต้านทานโรคให้ดีขึ้นได้ คนที่กินโยเกิร์ตวันละถ้วยเป็นหวัดน้อยกว่าคนที่ไม่กิน


(17). แง้มหน้าต่าง
การแง้มหน้าต่างหรือติดพัดลมดูดอากาศช่วยลดฝุ่นละออง เชื้อรา และกลิ่นสารเคมี รวมทั้งสารก่อมะเร็งในบ้านให้น้อยลงได้ ทำให้ภูมิต้านทานโรคดีขึ้น แง้มหน้าต่างแล้ว อย่าลืมระวังโจรหรือขโมยด้วยจึงจะดี


(18). เลือกสถานที่เลี้ยงเด็ก
ขณะที่ผู้ใหญ่ป่วยเป็นไข้หวัดเฉลี่ย 2 ครั้ง/ปี... เด็กๆ จะป่วยเป็นไข้หวัดเฉลี่ยเกือบ 10 ครั้ง/ปี วิธีลดโอกาสติดโรคกลุ่มหวัดทั้งคุณแม่คุณพ่อ และคุณลูก คือ ให้เลือกสถานที่เลี้ยงเด็กที่มีเด็กไม่เกิน 6 คน... ถ้าหาไม่ได้ก็ไม่ต้องตกใจ ให้ใช้ยา "ทำใจ" ไปพลางก่อนได้


(19). ล้างซอกเล็บ
ล้างซอกเล็บก่อนนอน และฝึกล้างมือ-ล้างเท้าก่อนนอนเป็นประจำ เพื่อให้นอนหลับสบาย วิธีล้างซอกเล็บไม่ยาก คือ ล้างมือ-ล้างเท้าก่อน หลังจากนั้นให้ใช้แปรงสีฟันขนอ่อนที่ใช้แล้วกับสบู่เหลว แปรงเบาๆ ที่ซอกเล็บเบาๆ (เรื่องชีวิตนี่... ไม่ต้องทำอะไรรุนแรง)


(20). ใช้แขนปิดปากเวลาไอหรือจาม
อย่าใช้มือปิดปาก-จมูกเวลาไอ-จาม เนื่องจากจะเสี่ยงติดโรคกลุ่มหวัดชนิดใหม่ ทำให้ป่วยนาน หรืออาการหนักขึ้น ให้ใช้ท่อนแขนปิดปาก-จมูกแทน หรือถ้ามีกระดาษทิชชู ให้ใช้ทิชชูปิด เนื่องจากฝ่ามือมีเชื้อโรคมากกว่าท่อนแขน


(21). เมื่อเริ่มป่วย ให้ทำอย่างนี้
ดื่มน้ำ เครื่องดื่ม หรือกินซุปอุ่นๆ บ่อยๆ ให้ร่างกายได้รับน้ำมากพอ สังเกตสีน้ำปัสสาวะควรมีสีเหลืองจางมากๆ หรือเกือบใสไม่มีสี และปัสสาวะทุก 2 ชั่วโมงตอนกลางวัน ถ้าปัสสาวะห่างกว่านั้นบ่งชี้ว่า อาจจะดื่มน้ำไม่พอ กระเทียม ซุป เอไคเนเชีย (สมุนไพรฝรั่ง), หรือลูกอมที่มีสังกะสี (ซิงค์ กลูโคเนต) อาจช่วยให้หายเร็วขึ้นอย่านอนทั้งวันโดยไม่ลุกไปไหน เลือดลมจะเดินได้ไม่ดี ให้ลุกขึ้นนั่ง-ยืน-เดินบ้างอย่างน้อยทุกๆ 2-3 ชั่วโมงตอนกลางวัน เพื่อป้องกันโรคแทรก เช่น ไซนัส (โพรงรอบจมูก) อักเสบ ฯลฯ การหนุนหัวเตียง (ขาเตียง) ให้สูงกว่าด้านปลายเตียงเล็กน้อย อาจช่วยลดการบวมของเยื่อบุในจมูกได้ ทำให้หายใจโล่งขึ้น คัดจมูกน้อยลง เสี่ยงไซนัสอักเสบหรือหูชั้นกลางอักเสบน้อยลง ฯลฯ ได้ในคนไข้บางคน


(22). อย่าบังคับหมอ
คนไข้ส่วนหนึ่งชอบบังคับ กดดันหมอให้จ่ายยาปฏิชีวนะ (antibiotic) โดยเฉพาะคนในโรงพยาบาลหลายคน ซึ่งชอบใช้ "ใบสั่งแพทย์" เช่น เขียนชื่อยาหรือบอกชื่อยาให้หมอเขียนตาม ฯลฯ คนไข้จำนวนมากคิดว่า ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อโรคกลุ่มหวัด (ไวรัส) ได้ ความจริง คือ นอกจากจะฆ่าไวรัสไม่ได้แล้ว ยังทำให้หมอเครียด ภูมิต้านทานโรคของหมอลดลง เพราะต้องทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ การใช้ยาฆ่าเชื้อไข้หวัดใหญ่หรือไวรัสนั้น จำเป็นต้องพิจารณาเป็นรายๆ ไป เนื่องจากยากลุ่มนี้มีอาการข้างเคียงสูง หมอจำเป็นต้องชั่งน้ำหนักว่า ผลดีมากกว่าผลเสียจึงจะให้


(23). ซักหรือเปลี่ยนผ้าเช็ดมือทุกวัน
ผ้าเช็ดมือในบ้านหรือที่ทำงานเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคสำคัญ... ทางที่ดีคือ พกพากระดาษทิชชู ใช้แล้วทิ้ง หรือเปลี่ยนผ้าเช็ดมือทุกวัน

อาหารเหนือ



เครื่องปรุง

ไก่ (เอาแต่เนื้อ) 1 ตัว
น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
ผักตำลึง 2 ถ้วย
ยอดมะพร้าวอ่อนซอย 1 ถ้วย
ผักเผ็ด 1 ถ้วย
ชะอม 1/2 ถ้วย
ถั่วพู 1/2 ถ้วย
ถั่วฝักยาว 1/2 ถ้วย
มะเขือพวง 1/2 ถ้วย
มะเขือกรอบ 1/2 ถ้วย
ใบชะพลู (หั่นหยาบ) 1/2 ถ้วย
ผักชีฝรั่ง (หั่นหยาบ) 1/2 ถ้วย
ผักขี้หูด 1/2 ถ้วย
เห็ดลม (หั่นหยาบ) 1/4 ถ้วย
น้ำซุป

วิธีทำ

1 โขลกเครื่องแกงทั้งหมดให้ละเอียด
2 เนื้อไก่หั่นเป็นชิ้น 1x1 นิ้ว
3 กะทะตั้งไฟ ใส่น้ำมันพอร้อนใส่เครื่องแกง ผัดให้หอม
4 ใส่ไก่ลงไปผัดจนไก่นุ่ม ใส่น้ำซุป
5 ใส่ผัก พอสุกยกลง ถ้าอ่อนเค็มเติมเกลือ เครื่องแกง
พริกแห้ง 7 เม็ด
ข่า หั่นละเอียด 1 ช้อนโต๊ะ
ตะไคร้ 2 ช้อนโต๊ะ
หอมแดง 6 หัว
กระเทียม 2 หัว
กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ
รากผักชี (ซอยละเอียด) 1 ช้อนชา
ปลาร้าสับ (ปลาช่อนไม่เอาก้าง) 2 ช้อนโต๊ะ




เครื่องปรุง

แกงเผ็ด 2 ถ้วย
แกงฮังเล 2 ถ้วย
แหนมหม้อ ยีให้กระจาย 2 ถ้วย
หน่อไม้ดองต้ม 2 ถ้วย
แคมหมู ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ 2 ถ้วย
วุ้นเส้นตัดสั้น 2 ถ้วย
ใบมะกรูดฉีก 1/2 ถ้วย
ตำลึง 2 ถ้วย
ตะไคร้หั่นฝอย 1 ถ้วย
พริกขี้หนูสด 2 ช้อนโต๊ะ
กระเทียมสับ 3 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันพืช 1/2 ถ้วย

วิธีทำ

1 กะทะตั้งไฟ ใส่น้ำมันพอร้อน
2 ใส่กระเทียมสับเจียวให้หอม
3 ใส่เครื่องทั้งหมดลงผัดจนน้ำมันแห้ง
4 ใส่วุ้นเส้น
5 ปรุงรสด้วยมะนาว น้ำปลา ตามชอบ